บททดสอบของเกมชีวิต

ธรรมะธรรมจักรกึ่งพุทธกาล   วันที่  13เมษายน  2565

บทที่ 88 **บททดสอบของเกมชีวิต**

+ +

 

ในเช้าของวันที่13 เมษายน  พ.ศ. 2565         ณ มหาวิชชาลัยธรรมิกราช

เมื่อท่านพระพุทธเจ้าน้อยได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อองค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว  จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า…

 

“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..

วันนี้ ลูกจะขอเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ในเรื่องของบททดสอบของเกมชีวิต น่ะเจ้าค่ะ

ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งทดสอบ  เป็นบททดสอบดวงจิตทั้งหลาย

ให้จะต้องฝึกฝนฟันฝ่าอุปสรรค สิ่งทดสอบต่างๆเหล่านั้น น่ะเจ้าค่ะ

 

ขอพระพุทธองค์โปรดทรงเมตตา  แสดงธรรมอธิบายธรรมเหล่านี้ ให้ลูกได้ทำความเข้าใจ

และนำไปเผยแผ่ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าค่ะ ”

– – – –

 

พระพุทธองค์ ::   ดีแล้วละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..ถ้าอย่างนั้น ก็จงตั้งใจฟังให้ดีเถิดลูก

ทำจิตให้สบาย  ทำใจให้สงบ

ชาร์จพลัง  เติมพลัง

ให้จิตนั้น.. เกิดแสงสว่าง  ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

ให้จิตของลูกนั้น.. ทรงพลังแห่งความรู้ตื่น  เข้าใจตามความเป็นจริง

 

พระพุทธเจ้าน้อยเอย..เมื่อลูกนั้น ได้ปรับสภาวธรรมแห่งจิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พร้อมที่จะสดับฟังธรรมแล้วก็จงค่อยๆพิจารณาธรรม ดังต่อไปนี้เถิด.. ลูกเอ๋ย

 

ย่อมแน่นอนล่ะ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..ว่า การที่ลูกทั้งหลายอยู่ในวัฏสงสาร

การที่ลูกทั้งหลาย.. จะต้องฝึกฝนประพฤติปฏิบัติตน ดำเนินอยู่

— จะต้องมีบททดสอบ สิ่งทดสอบมากมาย ที่เป็นสิ่งที่จะเข้ามาให้ลูกนั้น..

ได้ทดลอง ทดสอบตนเองว่า.. ตนนั้นสามารถรู้เท่าทัน รู้ตามได้มากพอเพียงใด

 

ฉะนั้น..  กฎของเกมในวัฏสงสาร

นอกจากมีกฎกติกาแห่งวัฏสงสาร ด้วยกฎแห่งกรรม // กฎแห่งความไม่เที่ยงแท้

ด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหาแล้ว..

 

ยังคงมีสิ่งที่เรียกว่า..สิ่งทดสอบบททดสอบต่างๆ หลายอย่าง

ที่ลูกนั้น จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ  เพื่อ..

– จะได้สามารถเล่นเกมชีวิต ได้ตามกติกา

– จะได้เป็นผู้ชนะในเกม

 

ลูกจงพิจารณาธรรม ตามดังต่อไปนี้เถิด.. ลูกเอ๋ย

ธรรมในประการที่ 1

ให้ลูกนั้น ทำความเข้าใจถึงเรื่องของกิเลสและตัณหา

… เพราะเรื่องของกิเลสตัณหานั้น – เป็นบททดสอบ  เป็นสิ่งทดสอบ  +

 

ลูกเอ๋ย..  เมื่อดวงจิตของลูกก่อเกิดขึ้นมาแล้ว  ด้วยสภาวะแห่งธรรมชาติ

และโดยธรรมชาติของจิตนั้น ก็คือ

เมื่อก่อเกิดขึ้นแล้ว – ไม่สามารถแตกดับไปได้ *

จิตนั้น เมื่อก่อเกิดขึ้น – ไม่มีภูมิคุ้มกันของจิต

— ที่จะคุ้มกันจิตไม่ให้อำนาจแห่งกิเลสตัณหาเข้าครอบงำ

 

ฉะนั้น..  จิตทุกดวง ที่เกิดขึ้นแล้ว มีขึ้นแล้วในวัฏสงสารนี้นั้น..

จึงไม่มีภูมิต้านทานที่จะคุ้มครองตน.. ให้สามารถอยู่เหนือเชื้อแห่งกิเลสตัณหา

หรือว่าลูกนั้น..ไม่สามารถที่จะทำให้ตนนั้น -ไม่ถูกอำนาจกิเลสตัณหาครอบงำ

 

จิตทุกดวงเมื่อเกิดขึ้นแล้ว.. จึงถูกอำนาจแห่งกิเลสตัณหา

คือ เชื้อแห่งความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ / เชื้อแห่งความอยาก และความไม่อยากนั้นเข้าครอบงำ

 

ทำให้จิตของลูกทั้งหลาย..

เกิดความลุ่มหลง  ความไม่รู้ตามความเป็นจริง

เกิดความรักเกิดความโลภ และเกิดความโกรธขึ้นมา

ทำให้ลูกนั้น.. เกิดความอยาก ความไม่อยาก ขึ้นมา

 

— ทำให้มีอาการเหล่านี้  ซึ่งเพราะว่าโดนเชื้อแห่งกิเลสตัณหานั้นครอบงำ

— ทำให้จิตดวงนั้น จะต้องเจ็บป่วยด้วยโรคหลง โรครัก โรคแห่งความโลภ และความโกรธ

/ โรคอยาก และไม่อยาก

 

ทีนี้ อาการนั้นก็ก่อเกิดขึ้น คือ อาการแห่งความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ

/ ความอยาก  และความไม่อยาก

 

เมื่ออาการเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว.. จึงนำพาให้จิตของลูก สร้างกรรม

คือ การกระทำทำตามที่ลูกนั้นรู้สึก – ตามอาการแห่งเชื้อกิเลส  เชื้อตัณหาเหล่านั้น..

 

ฉะนั้นพระพุทธเจ้าน้อยเอย..สิ่งที่ลูกทั้งหลาย ควรทำความเข้าใจว่า

นั่นคือสิ่งทดสอบ คือบททดสอบของตน

ก็คือ กิเลส และตัณหา เป็นบททดสอบลูก

 

ลูกทั้งหลาย.. จึงควรที่จะฝึกฝนตน ให้มีสติตั้งมั่น

ให้จิตของลูกนั้นแข็งแกร่ง  รู้ตื่น  เข้าใจตามความเป็นจริง

 

ลูกทั้งหลาย.. ควรที่จะฝึกตนให้รู้เท่ารู้ทันว่า

นี่คือ สภาวะแห่งความหลง

คือ สภาวะแห่งความรัก

คือ ความโลภ ความโกรธ / ความอยาก และไม่อยาก

 

สิ่งเหล่านี้ – เป็นเหตุแห่งทุกข์

สิ่งเหล่านี้ – เมื่อมีแล้ว ก็ย่อมจะต้องทุกข์

ทุกข์อยู่ร่ำไปอย่างนี้  – หาที่สิ้นสุดไม่ได้ !

— และมันคือ บททดสอบ–

 

ฉะนั้น..

จงอย่าหลง – ฝึกตนไม่ให้หลง

จงอย่ารัก -ฝึกตนไม่ให้รัก

จงอย่าโลภ – ฝึกตนไม่ให้โลภ

จงอย่าโกรธ – ฝึกตนไม่ให้โกรธ

 

จงฝึกฝนตน.. ให้อยู่เหนือความอยาก และไม่อยาก

เอาชนะสิ่งเหล่านี้ให้ได้  +

 

เมื่อเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้..

แสดงว่า.. ลูกสามารถผ่านบททดสอบต่างๆได้

 

ดวงจิตที่ไปสู่พระนิพพานแล้วนั้น

คือ ดวงจิตผู้ที่สามารถทำแบบทดสอบเหล่านี้ ผ่านหมดแล้ว

จนสร้างภูมิของจิตตนขึ้นมา — ทำให้ตนสามารถ

–  อยู่กับเชื้อแบบไม่ป่วย

–  อยู่กับเชื้อ แบบเชื้อทำอะไรไม่ได้

 

คือ เชื้อแห่งความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ

/ ความอยาก และความไม่อยากเหล่านั้น — ทำอะไรจิตดวงนั้นไม่ได้อีก  !!

 

จิตดวงนั้น จึงอยู่เหนือกิเลส อยู่เหนือสิ่งทดสอบ

จึงเข้าสู่พระนิพพานได้

 

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

สิ่งทดสอบบททดสอบสิ่งแรก คือ กิเลสตัณหา ลูก

 

ต่อไป ธรรมในประการที่ 2

ให้ลูกทั้งหลาย.. จงทำความเข้าใจอย่างนี้ว่า

สิ่งที่จะเป็นบททดสอบ สิ่งทดสอบลูกทั้งหลายนั้น.. ก็คือเรื่องของ กรรม

 

กรรม คือ การกระทำที่เรานี้ – ได้ผิดพลาดทำไปแล้วในกาลก่อน

และส่งผลมาขัดขวางตัดรอน ทดสอบ

 

บุคคลผู้ใด ทำกรรมชั่วไว้มาก — ก็จะต้องเจอกับวิบากกรรม สิ่งทดสอบมากมาย

จะต้องมีกรรมเก่าของตน.. เป็นสิ่งทดสอบ +

 

และกรรม คือ การกระทำที่เราสามารถที่จะเลือกทำ ณ ปัจจุบันได้

ด้วยการสร้างกรรมใหม่ที่ดี  หรือไม่ดี

— ตามความรู้ ความเข้าใจ ตามที่เรานั้นเลือกที่จะทำ —

 

บุคคล เมื่อไม่รู้ ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงเลือกที่จะทำกรรมที่ไม่ดี

กรรรมที่ไม่ดีนั้น.. ก็กลายเป็นบททดสอบ สิ่งทดสอบ

เป็นกับดักให้กับชีวิตของตน

 

ในที่สุดตนก็จะเป็นผู้แพ้ — ด้วยการกระทำของตนเอง ++

 

ฉะนั้น ลูกเอ๋ย..

กรรมเก่า ก็คือ บททดสอบ

กรรมใหม่ ก็คือ บททดสอบ

 

การที่เรานี้ จะสามารถที่จะเป็นผู้ชนะในเกมได้

เราจะต้องรู้ถึงกรรมเก่า – ที่ส่งผลมา

เข้าใจในกฎแห่งกรรม

… ยอมรับสภาพตามความเป็นจริง – ชดใช้มันไป ++

 

จะต้องมีสติตั้งมั่น รู้เท่าทันกรรมที่เรากำลังจะทำใหม่

ทำแต่สิ่งที่ดี  เว้นจากการทำสิ่งที่ชั่ว

ทำความดีไป โดยปราศจากกิเลสตัณหา

ให้ความดีนั้นบริสุทธิ์

 

ความดี คือ กรรมใหม่ของลูก *

… จะพาให้ลูกข้ามผ่านทุกอย่างไปได้

 

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

กรรม คือ บททดสอบ ลูก +

 

ต่อไป ธรรมในประการที่ 3

ให้ลูกทั้งหลาย.. จงทำความเข้าใจในเรื่องของกาย

 

กายนี้ ก็คือ บททดสอบ ลูก

กายนี้ -เกิดขึ้นจากกรรม

กรรม – เกิดขึ้นจากกิเลสตัณหา

กิเลสตัณหา – คลุกเข้ากับจิต ครอบงำจิต

.. จึงพาให้สร้างกรรม

.. จึงก่อให้เกิดกายนี้ขึ้นมา..

 

กายนี้ จึง..

เป็นก้อนกรรม

เป็นผลของกรรม

เป็นสิ่งที่เป็นไปตามกรรม

เป็นสิ่งที่เรานี้ – ได้รับผลมาจากกรรม

 

ฉะนั้น..  เราควรที่จะรู้ว่า กายนี้ ก็คือ บททดสอบ

สอบให้เราหลงยึดในตัวในตนแห่งกาย

ยึดว่ากายนี้.. เป็นเรา  เป็นของเรา

หลงในกายนี้ว่า.. เป็นตัวตนของเรา

 

ทำให้เราไม่เห็นตามสภาวะแห่งความเป็นจริง ว่า..

แท้ที่จริง  กายทั้งหลาย คือ ผลของกรรมของทุกดวงจิต

— ที่ก่อเกิดให้เป็นเช่นนั้น เป็นอย่างนั้น – ในดวงจิตนั้นๆ…

 

แท้ที่จริง กายทั้งหลายคือรูป  คือเวทนา คือสัญญา สังขาร และวิญญาณ

แท้ที่จริง กายทั้งหลาย คือ ธาตุ 4  ดิน น้ำ ลม ไฟ

แท้ที่จริง กายทั้งหลาย คืออาการ 32

–  มีความไม่เที่ยงแท้

–  มีที่ไป คือ การดับสูญสลาย กลับคืนสู่ความไม่มี ++

 

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

กายนั้น ก็เป็นบททดสอบ เป็นสิ่งทดสอบเราเหมือนกัน *

 

ถ้าเราไม่รู้ ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง –เราก็ยึดกายมาเป็นเรา  เป็นตัวตนของเรา

ก็ดิ้นรนไป ขวนขวายไป สร้างกรรมไป

ทำในสิ่งที่จะต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น

— เพื่อมาดูแลกายนี้

— เพื่อมาทำให้กายๆนี้สุขสบาย

 

ลืมสร้างสิ่งที่ดี ทำสิ่งที่ดี

จนก่อเกิดการเวียนว่ายตายเกิด  หาที่สิ้นสุดไม่ได้  !!

หลงติดอยู่ในกาย

 

ฉะนั้น..  กายของเรานี้ละลูก คือบททดสอบ คือสิ่งทดสอบ

ทดสอบความหลงในรูป

หลงในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

หลงในรูปกายนี้ – ในอาการ 32ธาตุ 4 – ดิน น้ำ ลม ไฟ

ในความเน่าเหม็นนี้ว่า.. เป็นเรา  เป็นของเรา

 

แบกรับเอาไว้ ดูแลไว้ด้วยความทุกข์ยากลำบาก

ดิ้นรน เสาะแสวงหาทุกสิ่งมา

— เพื่อที่จะได้มาดูแลกายนี้.. ให้สุขให้สบาย

 

แต่สุดท้าย.. กายนี้ก็แค่แตกดับไป – ตามรอบของกรรม

สิ้นสุดไปตามเหตุที่หมดเหตุในกายนี้นั้น  ความตายก็เข้ามาถึง

ทุกอย่าง.. ก็จบสิ้นลงที่ความตาย

 

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..กายจึงเป็นบททดสอบ ลูก

 

ต่อไป ธรรมในประการที่ 4

ให้ลูกทั้งหลาย.. ทำความเข้าใจอย่างนี้ว่า

 

บุคคลอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลายเหล่านั้น คือ บททดสอบ

บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ที่เรารัก – ที่รักเรา

ที่พัวพันเกี่ยวข้องกันมา – ด้วยกรรมที่มีต่อกัน

คือ เคยเวียนว่ายตายเกิด  /  เคยมีกรรมที่ดีต่อกันมา

— ทำให้รัก ทำให้ผูกพัน —

 

บุคคลทั้งหลาย.. ที่เกิดร่วมครอบครัวเดียวกัน

เกิดมาเป็นลูกของบิดามารดาบ้าง

เกิดมาเป็นผู้ที่จะต้องเป็นบิดา มารดา – ให้กำเนิดแก่ผู้อื่นบ้าง

 

ทุกสรรพสิ่งก่อเกิดขึ้น พัวพัน ผูกพันกันเป็นสายใย

ทำให้เราเกิดความรัก ความปรารถนาที่จะ

– ให้คนทั้งหลายเหล่านั้น.. เป็นสุข

– ให้คนทั้งหลายเหล่านั้น.. เป็นเช่นนั้น –ไม่ให้เป็นเช่นนี้เป็นต้น

 

แต่ลูกเอ๋ย..  การพัวพันกัน ก็ด้วยการหลงในกาย  หลงในตัวในตน  ในของของตน

หลงว่า.. นั่นคือ พ่อแม่พี่น้องแห่งตน

ความจำ – จำได้หมายรู้

หลงเกี่ยวพันกันมา หลายภพหลายชาติ  ผูกพันกันมา

และหาที่สิ้นสุดแห่งภพชาติไม่ได้  ไม่มี  !!

 

พระพุทธเจ้าน้อยเอย..  ฉะนั้นแท้จริงลูกทั้งหลาย ก็ผูกกันไว้ ด้วยความหลง

หลงในกันและกัน

หลงในตัวตนของกันและกัน

 

ผูกกันไว้ด้วยความรัก

ผูกกันไว้ด้วยความพอใจซึ่งกันและกัน

… ก็เลยทำให้เป็นบททดสอบด้วยเช่นเดียวกัน

 

เกิดความรัก  เกิดความหวง

เกิดความปรารถนา อยากได้ อยากมี  อยากให้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้

— ก็เลยก่อให้เกิดการสร้างกรรมที่ไม่ดีบ้าง / สร้างกรรมที่ดีบ้าง

ดิ้นรนกันไป  ยึดติดกันไป.. เช่นนี้

 

ฉะนั้น..  ความหลง ความรัก  ความยึดซึ่งกันและกันในบุคคลทั้งหลาย – อันเป็นที่รัก

— ก็เป็นบททดสอบ ลูก +

 

เพราะแต่เดิมแล้ว  ลูกไม่ได้มีกันและกัน

แต่ความหลง ความรัก — พาให้มาผูกกัน ให้มีกันและกัน

และต่อไป ในอนาคต — ลูกก็จะไม่มีกันและกัน

เพราะว่า.. เมื่อถึงเวลา ก็ต้องแยกย้ายจากกันไป

 

เมื่อฉากละครชีวิตจบลงแล้ว..

บทบาทของลูก ของพ่อ ของแม่

ของพี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย

บุคคลอันเป็นที่รักทั้งหลาย..

— ก็จะต้องจบจากละครนั้น  แยกย้ายกันไป

ไม่เหลือความเป็นญาติมิตร  เป็นพี่เป็นน้อง..

 

แล้วก็เกิดใหม่ ในภพใหม่  หาพี่หาน้องใหม่

… ก่อเกิดใหม่ พัวพันใหม่ อยู่ร่ำไป  ++

 

ฉะนั้นบุคคลอันเป็นที่รักทั้งหลาย.. จึงเป็นบททดสอบให้เราสามารถทำอะไรได้มากมาย

บางทีก็เป็นกรรมชั่ว

ทำเพื่อที่จะได้ให้คนที่รักทั้งหลาย..ได้เป็นสุขตามที่เราคิดว่าจะสุข

 

บางทีก็ดิ้นรนขวนขวาย ทำในสิ่งที่ดี ตามรูปแบบสมมุติในวัฏสงสาร

— เพื่อให้พวกเขาทั้งหลาย..เป็นสุข  ให้เขาสุขสบาย

และเราก็ต้องคอยเป็นทุกข์  เมื่อต้องพลัดพรากจากกันไป

— เป็นสิ่งที่ฝืนไม่ได้ !

นี่ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

 

รวมถึงความรัก ยังทำให้เรานี้ ติดอยู่กับกับดักแห่งความรัก  ความยึดมั่นถือมั่น

ความลุ่มหลงในตัวตนของกันและกัน  ทำให้ไม่สามารถทำอะไรไปได้เลย

ในที่สุด ก็พัวพันกันอยู่จนจบเกมๆนี้

แล้วก็มาเริ่มเกมใหม่

แล้วก็พัวพันกันอยู่อย่างนี้อยู่ร่ำไป…

 

ฉะนั้น.. จงคลายความยึดติดเหล่านี้ — ด้วยการรู้และเข้าใจตามความเป็นจริงว่า..

สิ่งที่ผูกเราเอาไว้ด้วยกันนี้..

คือ ความหลง

คือ ความรัก

คือ ความยึดติด

 

ควรที่จะเห็นตามความเป็นจริงว่า..  เมื่อเราเกิดมาอยู่ร่วมกันแล้ว

บททดสอบของมัน ก็คือต้องมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของเรา

คือ..

เป็นพ่อแม่ – ก็เป็นพ่อแม่ที่ดี

เป็นลูก – ก็เป็นลูกที่ดี

เป็นพี่เป็นน้อง

 

— อยู่ในตำแหน่งใด จงทำตำแหน่งนั้น.. ให้ดี ให้สมบูรณ์ —

 

แต่จงคลายความยึดความหลง ที่เกาะเกี่ยวกันอย่างแน่นหนาอยู่ในจิต

จนเมื่อถึงเวลาต้องพลัดพรากจากกัน.. ต้องกลายเป็นทุกข์

 

จงคลายความหลง ความยึดติด ที่จะรักจนไปเบียดเบียนผู้อื่น

เพื่อให้บุคคลผู้นั้น..ได้เป็นสุขตามที่เราคิด

แล้วสุดท้าย.. เราก็ต้องตกต่ำ – เขาก็ต้องตกต่ำ !!

 

ฉะนั้น..  จงรักษารากฐานของความดีเอาไว้  — แต่จงเป็น

*  ความดีที่รู้ตื่น

*  เป็นความดีที่ไม่ลุ่มหลง

*  เป็นความดี ที่สักแต่ว่าดำเนินไป ดูแลกันไป

— โดยความดีนั้น ปราศจากการยึดติด —

… แล้วลูกก็จะผ่านบททดสอบ จากบุคคลอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย..

 

ต่อไป ธรรมในประการที่ 5

สิ่งของ ข้าวของ อันเป็นที่รักทั้งหลาย

ก็เป็นบททดสอบ.. ลูกเอ๋ย

 

เมื่อเรารักในสิ่งของที่เป็นวัตถุ  เป็นสิ่งของ เป็นข้าวของ –หลงใหลในสิ่งนั้น

เช่น บ้านเรือน รถรา

หรือว่าสิ่งสวยงามละเอียดประณีตต่างๆ ทั้งหลาย

หลงติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น..

 

เราก็จะดิ้นรนขวนขวายทำกรรม  เพื่อที่จะได้สิ่งนั้น

ทั้งกรรมดีบ้าง  กรรมไม่ดีบ้าง – ดิ้นรนเพื่อให้ได้มา

 

พอได้มาแล้ว ก็อยากให้มีอยู่  – ไม่อยากให้ดับไป

อยากให้คงสภาพไว้

มีแล้ว – ก็อยากให้มีเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆไป

 

จึงเป็นเหตุที่ทำให้ลูกทั้งหลาย..ก่อเกิดความทุกข์

ก่อเกิดความหลงในรูป

หลงในรูปที่เป็นวัตถุ สิ่งของข้าวของ

หลงในสิ่งต่างๆทั้งหลาย.. ที่ได้มา ที่มี ที่เป็นอยู่

ที่อยากจะได้  อยากจะมี  อยากจะเป็นเพิ่มอีก

 

สิ่งต่างๆทั้งหลาย..  จึงเป็นสิ่งทดสอบ เป็นบททดสอบลูก

จงมีแต่เพียงพอดี -ตามเหตุตามปัจจัย

มีอย่างมีสติรู้ตื่น รู้เท่าทัน

 

จงอย่าตกเป็นทาสแห่งสิ่งของข้าวของ วัตถุสิ่งของข้าวของต่างๆ – จนตนต้องตกต่ำ

ด้วยการลุ่มหลงพัวพัน  จนสร้างกรรมที่ไม่ดี

ยึดติด จนไม่สามารถเห็นความสุขที่แท้จริง ที่เกิดขึ้นภายในได้.. ลูกเอ๋ย

 

เพราะสิ่งของทั้งหลาย.. ก่อนหน้านั้น  ก็ไม่มี

เมื่อเรานี้ดิ้นรนให้มีมา — เรานี้ก็ยึดถือว่า.. มี

 

แต่อีกหน่อย  คนที่อยากได้..  ก็จะไม่มี  !!

สิ่งของที่อยากได้.. ก็จะไม่มี

ทุกอย่าง กำลังดำเนินไปหาความว่างเปล่า  คือความไม่มี

 

ในที่สุดแล้ว..

ทุกสรรพสิ่งในวัฏสงสารนี้ ล้วนแต่ไม่มี

ทุกสรรพสิ่งในวัฏสงสารนี้- ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือสิ่งของข้าวของก็ตาม.. ลูกเอ๋ย

— ล้วนแล้วแต่สูญสลาย กลับคืนสู่ความว่าง ความไม่มี —

 

เพียงแต่สิ่งนี้หายไป  เริ่มจะหายไป

สิ่งโน้นก็ก่อเกิดขึ้น  เริ่มจะก่อเกิดขึ้น– เข้ามาแทนที่กันใหม่

 

คนยุคนี้ – ตายกันไป

คนยุคใหม่ – แทรกกันก่อเกิดขึ้นมา เติบโตขึ้นมา

– แก่ เจ็บ ตามกันไป ตายตามกันไป..

จึงทำให้เหมือนว่า มีอยู่  เป็นอยู่

แต่แท้ที่จริงแล้ว  คือ ภาพหลอกลวง ภาพมายาทั้งนั้นละ ลูก

 

สิ่งนี้ – แทรกเกิด

สิ่งนั้น – แอบดับไป

สิ่งนั้น แทรกเกิดมา  สิ่งโน้นก็แอบดับไป

— โดยที่เรานี้ไม่ทันได้สังเกต  ไม่มีสติรู้ทัน รู้ตาม —

 

จึงก่อให้เกิดความลุ่มหลงในตัวบุคคล คือ

ตัวเรา – ตัวเขา

สิ่งของของเรา – สิ่งของของเขา

สิ่งนั้น – สิ่งนี้

— ไล่ตามมันไปเรื่อยๆ

 

ยุคแล้วยุคเล่า  ภพชาติแล้วภพชาติเล่า

… ก็ดำเนินกันไปเช่นนี้  วิ่งตามสิ่งใหม่ๆกันไปเช่นนี้..

สุดท้ายแล้ว ดวงจิตทั้งหลาย.. ก็พบแต่ความว่างเปล่าในวัฏสงสารนี้ !

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

 

ลูกทั้งหลาย..  ควรที่จะทำความเข้าใจ ให้รู้ตื่นเช่นนี้

แล้วลูกจะเข้าใจตามความเป็นจริงเห็นบทสอบ

แล้วจะสามารถทำแบบทดสอบนั้นได้ผ่าน

– จนได้คะแนนมาก

– จนเข้าสู่พระนิพพานได้  +

 

อยู่กับโลกที่เป็น..

* โลกแห่งความจริง

* โลกที่เที่ยงแท้

* โลกที่ไม่เวียนว่ายตายเกิด

* โลกที่ไม่เป็นทุกข์

เช่นนี้ละ.. ลูกเอ๋ย

 

ต่อไป ธรรมในประการที่ 6

สิ่งที่เรียกว่า ความสุข ในแบบของวัฏสงสารนั้น ก็คือบททดสอบ  ลูก

 

ในวัฏสงสารนี้ – เขาก็จะสร้างสิ่งที่หลอกเราว่า นั่นละ คือ สุข

วางเป็นกับดัก

วางเอาไว้ให้เรานี้ ติดหลงอยู่ในกับดักเหล่านั้น..

 

หลงเพลิดเพลินว่า การมีความรัก – ที่แท้นั่นคือความสุข

แต่ในความเป็นจริงแล้ว – มันคือทุกข์ ที่มีอยู่ในวัฏสงสาร!

 

หลอกให้เราหลงคิดว่า

การได้สิ่งนั้น มีสิ่งนี้

การเป็นเช่นนั้น เช่นนี้.. มีความสุข

 

แต่ที่จริงแล้ว..  เมื่อได้ เมื่อมีมา —  ก็เป็นเพียงแค่สุขจอมปลอม

เราก็ต้องดิ้นรนหาต่อไป

 

เมื่อสิ่งเหล่านั้น.. ดับไป  หายไป  พลัดพรากจากเราไป

เราก็กลายเป็นทุกข์มากยิ่งกว่าหลายเท่ากับความสุขที่เราได้รับมา  !!

 

ลูกทั้งหลายเอ๋ย..  ฉะนั้น ความสุขจอมปลอม ในรูปแบบของวัฏสงสาร

ที่เขาก็สร้างมาให้เรานี้หลงติดอยู่กับกับดัก ในความสุขของความไม่เที่ยงแท้

ทำให้เรานี้ ติดอยู่ตรงนี้ด้วย ลูก ++

 

ฉะนั้น..  อย่าหลงสุข ในวัฏสงสารเลย

เพราะสุขในวัฏสงสาร

เป็นสุขที่เจือปนด้วยความทุกข์ซ่อนด้วยทุกข์

เป็นความสุข – ที่ไม่เที่ยงแท้

เป็นความสุข – ที่เอาไว้หลอกบุคคลผู้มักง่าย ในการหาความสุขนั้น

— ลุ่มหลง  เพลิดเพลินอยู่

— หลงเวียนว่ายตายเกิดอยู่

จนหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้  ไม่เจอ เท่านั้นละลูก ++

 

ฉะนั้น..  จงค้นให้พบความสุขที่แท้จริง ที่เกิดขึ้น มีอยู่ในตน

ค้นพบความสุขที่แท้จริง ถาวร

คือ สุขในแดนพระนิพพาน เถิดลูก

 

เพราะนั่นคือ.. สุขที่เที่ยงแท้  สุขที่แท้จริง

— ไม่มีเปลี่ยนแปลงไป —

 

ต่อไป ธรรมในประการที่ 7

ความทุกข์

ความทุกข์ยากลำบาก  ก็คือ สิ่งทดสอบด้วยเช่นเดียวกัน.. ลูกเอ๋ย

 

สิ่งทดสอบ – ก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา

ความทุกข์- ก่อให้เกิดสิ่งทดสอบขึ้นมา

 

ทำให้เรานี้ เผชิญกับความทุกข์ในเรื่องต่างๆ

ทำให้นี้ รู้สึกแย่  รู้สึกไม่ไหว

รู้สึกที่จะต้องดิ้นรนหาสิ่งที่เป็นสุข

 

ยิ่งหาสุขในวัฏสงสาร – ก็ยิ่งทุกข์

ยิ่งทุกข์ – ก็ยิ่งดิ้น  เพื่อที่จะหาสุข

 

เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง.. เลยหลงทุกข์อยู่เช่นนั้น

ยึดทุกข์ ว่า.. เป็นเรา  เป็นตัวตนของเรา

 

แต่แท้ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

ทุกข์ ก็เป็นเพียงสภาวธรรมแห่งสมมุติ

เราไม่ควรที่จะหลงยึดทุกข์นั้น – มาเป็นเรา  เป็นตัวตนของเรา

 

จงสักแต่ว่า  เห็นทุกข์เหล่านั้นดำเนินไปตามเหตุ

… เช่นนั้น อย่างนั้นเถิด.. ลูกเอ๋ย

 

เมื่อลูกไม่ลุ่มหลงอยู่ในบททดสอบคือ สุขและทุกข์แล้ว

ลูกก็จะสามารถทำแบบทดสอบได้ดี  สามารถทำคะแนนได้มาก

และเข้าถึงพระนิพพาน

คือ เจอกับสุขที่แท้จริง

 

เพราะลูกเห็นสุข – เห็นทุกข์ในวัฏสงสาร –ตามความเป็นจริงในแบบของวัฏสงสาร

ไม่ยึดเป็นเรา  เป็นตัวตนของเรา

 

ลูกจะพบความสุขที่แท้จริง ในดวงจิตของลูก

— จะเข้าถึงพระนิพพาน ++

 

พระพุทธเจ้าน้อยเอย..ก็ด้วยว่า..

ดวงจิตในวัฏสงสารนี้.. หลงสุข หลงทุกข์กันอยู่

จึงดิ้นกันอยู่ตรงนี้ หาที่สิ้นสุดไม่ได้ ไม่เจอ ลูก

 

ดวงจิตในวัฏสงสาร  แบ่งออกมาได้หลายกลุ่ม ก็คือ..

กลุ่มที่ 1 – เขาก็ต้องการความสุข  เขาก็ไม่ปรารถนาความทุกข์

 

เพราะเขาอยู่เหนือทุกข์ เหนือสุขไม่ได้

— จึงทำทุกวิถีทางให้สุข -โดยไม่รู้ตามความเป็นจริง

— จึงทำในสิ่งที่ไม่ดี  เพื่อให้ตัวเองเป็นสุข

ในที่สุด..  ตนก็กลายเป็นทุกข์ไป

 

ยิ่งทำชั่วเท่าไร — ก็ยิ่งจมปลักไปสู่ความทุกข์ที่ลึกขึ้นมากเท่านั้น

… จนกลายเป็นมาร เป็นฝ่ายที่ไม่ดีไป

 

นั่นก็คือ กลุ่มดวงจิตที่เขาต้องการความสุขเหมือนกันละลูก

เขาก็กลังความทุกข์ หาความสุข

— แต่เขาหาความสุขในรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง —

ในที่สุด.. เขาจึงกลายเป็นพญามารไป!!

 

กลุ่มดวงจิตที่ 2 – เขานั้น ก็ดิ้นรนหาความสุขเหมือนกันละลูก

เขาอยากได้ความสุข  กลัวความทุกข์

เขาจึงสร้างสิ่งที่ดี  สร้างบุญสร้างบารมี  เพื่อที่จะได้ดี

 

เขานั้นทำได้ — เขาก็ไปอยู่ในเมืองสวรรค์  ในโลกที่เป็นสุข

เกิดมาเป็นมนุษย์.. ก็เป็นสุขสุขสบายในรูปแบบของมนุษย์

และเป็นในรูปแบบของวัฏสงสาร

คือ ตามธรรมชาติแห่งสุขในวัฏสงสารนี้น่ะลูก

 

ทีนี้ เขาก็สร้างความดีให้มากเหมือนกัน

— เพื่อให้เขาได้รับสิ่งที่เป็นสุขจากสมมุติทั้งหลาย..

คือการเสวยสุขอยู่ในสวรรค์/  เสวยสุขอยู่ในโลกมนุษย์

— แต่นั่นก็ไม่ใช่สุขที่เที่ยงแท้!

 

ในที่สุด.. เขาก็ต้องดิ้นรนอยู่ตลอด ทำแบบทดสอบตลอด

 

เมื่อเขานั้นไม่ผ่านแบบทดสอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง– ก่อให้เกิดกรรมชั่ว

เขาจึงไม่พ้นการลงสู่นรกอเวจี

แล้วค่อยกลับขึ้นมาทดสอบใหม่  เริ่มใหม่  ทำดีใหม่

 

หลงสุขอยู่ในวัฏสงสารนี้..  จึงไม่พ้นทุกข์อย่างแท้จริง  ลูก

จึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่

เป็นกลุ่มดวงจิตที่ได้มาด้วย..มนุษย์สมบัติบ้าง  สวรรค์สมบัติบ้าง

 

และเมื่อทำกรรมชั่ว ผิดพลาด — ก็ลงสู่นรกอเวจีบ้าง

 

กลุ่มดวงจิตนี้  เขาก็หาความสุขนั่นละลูก

— เพียงแต่ว่า.. เขาก็หาเจอสุขที่เป็นสุขจอมปลอม!!

 

ต่อไป กลุ่มที่ดวงจิตกลุ่มที่3 – คือ กลุ่มดวงจิตที่เขานั้น บำเพ็ญบารมี เพื่อหาความสุข

และหาให้เจอสุขที่แท้จริงด้วย  *

 

เช่น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

องค์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

องค์พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย

 

ท่านบำเพ็ญบารมี  สั่งสมความดีมา

ขัดเกลากิเลสตัณหา

ฝึกฝนตนเอง ให้มีจิตที่ตั้งมั่น

มีภูมิคุ้มกันต่ออำนาจแห่งกิเลสตัณหา

 

ทำแบบทดสอบต่างๆ ผ่านทั้งหมด.. จน

— เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

— เป็นผู้เข้าสู่พระนิพพาน – พบสุขที่แท้จริง *

 

จึงมีกลุ่มดวงจิต ที่ก็ตามหาความสุขเหมือนกัน

— แต่ตามหาเจอ  เจอสุขที่แท้จริง.. จึงไปสู่พระนิพพาน  ++

 

ฉะนั้น..  ดวงจิตทั้งหลาย ในวัฏสงสารนี้

ย่อมเป็นผู้..

หลงทุกข์  คือ กลัวทุกข์นั้นยึดทุกข์นั้น มาเป็นเรา เป็นของเรา

หลงสุข  คือ ปรารถนาจะได้ความสุข

 

แต่ขึ้นอยู่กับว่า  รูปแบบของการหาความสุขของแต่ละคน.. จะเป็นแบบไหน  +

 

คนที่ทำกรรมชั่ว — เขาก็เข้าใจว่า การทำเช่นนั้น.. จะทำให้เขาเป็นสุข – เขาจึงได้ทำ

เขาต้องการความสุข  และต้องการพ้นทุกข์ นั่นละลูก

— แต่ทำด้วยวิธีที่ผิด

 

คนที่เขานั้นทำความดี  หลงในความดีในวัฏสงสารนี้  อยากได้ดีในรูปแบบของสมมุติ

— เขาก็เลยสร้างความดี  ดิ้นรนกันไป

ขวนขวายเสาะแสวงหาสิ่งดีๆ ละเอียดประณีตต่างๆเข้ามาหาเรา – สิ่งที่ดี

และยึดความดีเหล่านั้นไว้…

 

นั่นก็เพราะว่า.. เขาต้องการความสุข นั่นละลูก

เขาก็เลยเจอสุขจอมปลอมในวัฏสงสารหลอกล่อให้ยึดติดอยู่ในนี้

 

แต่กลุ่มที่เป็นกลุ่มแห่งพุทธะคือ จิตที่รู้ตื่น เบิกบานแล้ว  คือ ดวงจิตแห่งองค์พระพุทธเจ้า

องค์พระปัจเจกพุทธเจ้า  และองค์พระอรหันต์ทั้งหลาย

 

คือ ดวงจิตที่หาสุข เช่นกันน่ะลูก  แต่หาสุขที่เที่ยงแท้

จึงเลือกที่จะดำเนินอยู่บนเส้นทางแห่งการฝึกฝนเจียระไนตน

… ให้จิตของตนเข้าถึงพระนิพพาน  ที่ที่เป็นสุขอย่างแท้จริง ++

 

ฉะนั้น..  จิตทั้งหลาย จึงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่เลือกทำชั่ว – เพื่อจะได้สุข  แต่สุดท้ายก็กลายเป็นมาร และทุกข์ยาวนาน

กลุ่มที่เลือกที่จะหาสุข– ด้วยการสร้างความดีเล็กน้อย  ยึดถือในความดีเหล่านั้น

ลุ่มหลงในความสุขจอมปลอมเหล่านั้น..

 

สุดท้าย.. ก็ไม่พ้นจากอำนาจของความไม่เที่ยงแท้  ไม่จีรังยั่งยืน

เจอสุขที่เป็นสุขจอมปลอม

เพราะเมื่อเสื่อมจากสุขเหล่านั้นแล้ว — กลายเป็นทุกข์มากมาย

มากยิ่งกว่าตอนที่สุขอีกหลายเท่า !!

 

… ก็เลยจมอยู่  เวียนว่ายกันอยู่อย่างนี้  ++

 

กลุ่มที่ 3 – ก็คือ กลุ่มที่หาความสุขที่แท้จริงเจอ

และก็เข้าสู่พระนิพพานกันไป…

 

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..

ผู้ที่เล่นเกมชีวิตทั้งหลาย.. เขาก็เล่นเกมไปตามที่เขารู้เขาเข้าใจ

รู้แบบไหน เข้าใจแบบไหน.. ก็ทำแบบนั้น

ตนก็ได้รับผล – ตามที่ตนทำไป

 

ฉะนั้น..  การที่ลูกได้ทำความเข้าใจถึงแผนที่ในวัฏสงสาร

เข้าใจความเป็นอยู่และกฎแห่งวัฏสงสารแล้ว..

 

— ลูกก็จงทำความเข้าใจถึงบททดสอบ  สิ่งทดสอบต่างๆที่มีอยู่

… เพื่อให้ลูกได้รู้เท่าทัน รู้ตาม..

จงทำความเข้าใจ ในเรื่องของกิเลสตัณหาว่า คือ บททดสอบ

จงทำความเข้าใจ ในเรื่องของกรรมทั้งกรรมเก่า- และกรรมใหม่ ว่าเป็นบททดสอบ

จงทำความเข้าใจ ในเรื่องของร่างกาย  ว่า กายนี้ คือบททดสอบ

จงทำความเข้าใจ ในเรื่องของบุคคลอันเป็นที่รักทั้งหลาย ว่าเขาทั้งหลายเป็นบททดสอบ

จงทำความเข้าใจว่า สิ่งของอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย  นั่นเป็นบททดสอบ

จงทำความเข้าใจว่า ความสุขหรือการหลงติดสุขในวัฏสงสารนี้นั่นก็คือบททดสอบ

จงทำความเข้าใจว่า  การหลงติดอยู่กับความทุกข์ คือ ทุกข์ในวัฏสงสารนี้

– ยึดมาเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา– นั่นก็คือ บททดสอบ

 

ลูกทั้งหลาย..  จงทำความเข้าใจถึงบททดสอบ ทั้ง 7 ประการนี้

และระมัดระวัง  ทำให้อยู่เหนือ ทำให้รู้ตื่น  ทำให้เข้าใจ

และลูกก็จะสามารถเป็นผู้ชนะในเกมชีวิตได้ ลูก

 

พอจะเข้าใจบ้างแล้วหรือยังเล่าพระพุทธเจ้าน้อยเอย..

จงกล่าวธรรมนั้นมาเถิด.. ลูกเอ๋ย

 

+ +

พระพุทธเจ้าน้อย ::  สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ

กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระพุทธองค์

 

เมื่อพระองค์ทรงเมตตาแสดงธรรมอธิบายนี้ให้ลูกได้ฟังแล้ว

ลูกก็พอจะเข้าใจแล้วว่า..สิ่งทดสอบ  บททดสอบต่างๆในวัฏสงสารนี้

ที่ลูกทั้งหลาย.. จะต้องก้าวข้ามไป ก็คือ

 

การที่ลูกนั้นจะต้องข้ามความหลง ความรักความโลภ และความโกรธ

/  ความอยาก และความไม่อยาก

ข้ามความรู้สึก  ข้ามอำนาจของสิ่งเหล่านี้ไปให้ได้  ++

ลูกก็จะสามารถผ่านบททดสอบ ที่ 1

 

เมื่อลูกทั้งหลายทำความเข้าใจเรื่องของกรรม

ว่า กรรมเก่าส่งผลมา  กรรมใหม่เป็นตัวกำหนด

และให้อยู่เหนือทั้ง

กรรมดี – กรรมชั่ว

กรรมเก่า – กรรมใหม่

— ลูกก็จะผ่านบททดสอบ —

 

ให้ลูกทั้งหลาย.. เข้าใจว่า

การที่เราหลงติดอยู่ในร่างกาย  รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนี้

ยึดว่า  เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา

— เราก็จะไม่ผ่านบททดสอบ  !!

 

แต่หากว่า เราเข้าใจตามความเป็นจริง

อยู่เหนือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

อยู่เหนือกายแล้ว

— เราก็จะผ่านบททดสอบ —

 

การที่เราหลงติดอยู่กับบุคคลที่รักที่พอใจทั้งหลาย.. จนเรานี้สร้างกรรม เบียดเบียนผู้อื่น

หลงยึด หลงรัก  จนก่อให้เกิดความทุกข์แก่เรา

การเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น

— นั่นก็คือ บททดสอบ —

 

และการที่เรา ไม่มีการเมตตาช่วยเหลือโดยหน้าที่ – ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์

— นั่นก็ถือว่า เราพลาดไปทำกรรมไม่ดีกับพวกเขาด้วย

ก็คือ บททดสอบด้วยเช่นเดียวกัน —

 

ฉะนั้น..  บุคคลอันเป็นที่รักทั้งหลาย..  จึงเป็นบททดสอบ

เราจงรู้ตื่น  ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์

— แต่อยู่เหนือความยึดติด

— อยู่เหนือการที่เรานี้ จะไปสร้างกรรม ทำสิ่งที่ไม่ดี.. เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้ดี

ทำให้เราตกต่ำ  ทำให้เขาตกต่ำ

สิ่งนั้น เราก็จะสามารถที่จะเป็นผู้ที่ทำแบบทดสอบได้ หากว่าเราข้ามสิ่งเหล่านั้นได้ —

 

และสิ่งของอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ก็คือ บททดสอบ

— เราจงลดละความลุ่มหลงในสิ่งของข้าวของต่างๆ —

 

ความสุข -ความทุกข์ในวัฏสงสารก็คือ บททดสอบ

จงฝึกจิตของตน.. ให้อยู่เหนือสภาวะเหล่านี้

เราก็จะสามารถเป็นผู้ชนะในเกม

 

หรืออย่างน้อย ถ้าอยู่เหนือไม่ได้

เราก็จงรู้เท่าทัน และทำให้ดีที่สุด

 

เพื่อจะได้เก็บคะแนนในการเล่นเกมชีวิต ให้ได้มากที่สุด

และสั่งสมไปเรื่อยๆ.. จนกว่าจะเต็ม

— และจะเป็นผู้ชนะได้ในที่สุด ++

 

… ลูกพอจะเข้าใจเช่นนี้ อย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ

 

กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระพุทธองค์ นะเจ้าคะ

วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อน   เอาไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่ พระพุทธเจ้าค่ะ…

 

สาธุ