เครื่องช่วยให้ชนะในเกมชีวิต

ธรรมะธรรมจักรกึ่งพุทธกาล วันที่ 16เมษายน 2565
บทที่ 91 **เครื่องช่วยให้ชนะในเกมชีวิต**
+ +

ในเช้าของวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ มหาวิชชาลัยธรรมิกราช
เมื่อท่านพระพุทธเจ้าน้อยได้กราบนอบน้อมเข้าเฝ้าต่อองค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่าน เพื่อเฝ้าฟังธรรมแล้ว จึงได้นอบน้อมเฝ้าทูลถามพระพุทธองค์ท่านไป ดังนี้ว่า…

“ ข้าแต่องค์พระพุทธบิดา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ้าขา..
ในขณะที่เรานี้.. กำลังฝึก กำลังประพฤติปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ตนนั้นเป็นผู้ที่เข้าใจในเส้นทางของ
องค์พระพุทธเจ้าเข้าใจในกฎเกม.. เพื่อที่จะเป็นผู้ชนะในเกมชีวิตนี้ คือ ออกจากวัฏสงสารนี้ไป

เรานั้น.. จะมีสิ่งใดเป็นที่พึ่ง เป็นสิ่งที่เป็นเครื่องช่วยให้เรานั้น สามารถที่จะข้ามผ่านอุปสรรค
ปัญหา ข้ามผ่านสิ่งต่างๆทั้งหลาย คือ ความมืด คือทางที่คิดว่าตันแล้ว
ข้ามสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรหรือเจ้าคะ ?

ขอพระพุทธองค์โปรดทรงเมตตาแสดงธรรมนี้ ให้ลูกได้ฟังด้วยเถิดพระพุทธเจ้าค่ะ ”
– – – –

พระพุทธองค์ :: ดีแล้วละนะ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..
ถ้าอย่างนั้น ก็จงตั้งใจพิจารณาธรรม ดังต่อไปนี้กันนะ

ลูกเอ๋ย.. ธรรมดาแล้วลูก เส้นทางแห่งการประพฤติปฏิบัตินั้น
เราก็ย่อมจะต้องประสบพบเจอกับหลายสิ่งหลายอย่าง
เรานี้ ก็จะต้องค่อยๆดำเนินไป ฝึกฝนไป
ประพฤติปฏิบัติไป ขัดเกลาเจียระไนไป – สิ่งที่เป็นกิเลส เป็นตัณหา กรรมวิบากต่างๆ
ที่ครอบงำจิตใจของเราอยู่
ค่อยๆดำเนินไปทีละขั้น ทีละตอน

ลูกเอ๋ย.. เป็นธรรมดาที่เรานี้ จะต้องเจอกับปัญหาต่างๆ
แต่เราก็สามารถที่จะมีเครื่องช่วย คือ ธรรมขององค์พระพุทธเจ้าไงลูก
เพราะธรรมขององค์พระพุทธเจ้านั้น..
คือ แสงสว่างนำทาง
คือ หนทางที่ปูเอาไว้ให้แล้ว ถากถางทางไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
คือ แผนที่การชี้ทางบอกทาง
คือ สิ่งที่นำทางให้ลูก ไปสู่จุดมุ่งหมายได้.. เป็นแน่แท้ ++

ฉะนั้น.. ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า จึงสำคัญมาก*
จึงเป็นสิ่งที่ลูกทั้งหลาย.. จะมองข้ามไปไม่ได้เลย !

และธรรมกึ่งพุทธกาลนั้น.. ก็ได้เรียบเรียง ได้วางแบบวางแผน
เรียบเรียง วางไว้ให้ลูกตั้งแต่
ธรรมในระดับขั้นต้น – จนสูงขึ้นมาถึงขั้นกลาง – และละเอียดลึกเข้าไปถึงขั้นปลาย **

ลูกก็สามารถที่จะใช้ธรรมเหล่านี้.. เป็นเครื่องช่วยให้ลูกนั้นสามารถฟันฝ่าอุปสรรคปัญหา
และข้ามผ่านทุกอย่างไปได้

พระพุทธเจ้าน้อยเอย..พระธรรมของพระพุทธองค์ จึงเป็นสิ่งชี้ทางนำทาง
เป็นแผนที่การบอกทาง เป็นหนทาง

เมื่อลูกทั้งหลาย.. ได้ฝึกฝนประพฤติปฏิบัติไปแล้ว — เจอกับอุปสรรคปัญหา
ลูกจึงควรใช้ธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า
– เป็นเครื่องนำทาง
– เป็นเครื่องช่วย
-เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกนั้น.. สามารถที่จะดำเนินต่อไป
… ลูกจงพิจารณาธรรมเช่นนี้..

ต่อไป ธรรมในประการที่ 2 —
ลูกนั้นจงพิจารณาว่า.. การฝึกฝนประพฤติปฏิบัตินั้น อาจมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เข้ามาหลอกล่อ
/ ทำให้ลูกนั้น ลุ่มหลง
/ ทำให้ลูกนั้น จมอยู่ ติดอยู่กับสิ่งหลอกล่อต่างๆทั้งหลายเหล่านั้น

เช่น การที่ลูกนั้นเกิดสภาวะความเป็นทิพย์ขึ้นมา
เกิดคุณวิเศษต่างๆ ขึ้นมา
เกิดการได้ลาภสักการะต่างๆขึ้นมา

ลูกนั้น.. อาจหลงติดอยู่กับกับดัก คือ สิ่งทดสอบ สิ่งหลอกล่อเหล่านั้น
… จนไปต่อไม่ได้

ลูกจงใช้ธรรมคำสอนแห่งองค์พระพุทธเจ้า เป็นสิ่งนำทาง
เป็นแผนที่การบอกทาง คอยชี้ทางบอกทางให้ลูกข้ามผ่าน

สิ่งหลอกล่อต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ —
จะได้ไม่ติดอยู่กับความดี เล็กๆน้อยๆ ที่ได้รับ
จะได้ไม่ติดกับความสุข ที่เป็นสุขจอมปลอม
จะได้ไม่หลงติดอยู่กับ สิ่งที่คิดว่าดีแล้ว

— แต่ที่จริงก็เป็นเพียงแค่กับดัก ที่จะทำให้ลูก..
/ หลงไปในสิ่งที่รู้
/ หลงไปในสิ่งที่เห็น
/ หลงไปในสิ่งที่ได้

ฉะนั้น.. จงระมัดระวังให้ดี เพราะระหว่างการปฏิบัติ — ย่อมจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแน่
จะต้องเจอกับสิ่งทดสอบเหล่านี้ เป็นแน่แท้

จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้านำทาง
จงให้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า เป็นแสงสว่าง
จงสดับฟังธรรมให้มาก

ติดขัดในเรื่องใด ไม่เข้าใจในสิ่งใด — ลูกจะได้มีปัญญาแจ่มแจ้งมากพอที่จะข้ามผ่านสิ่งเหล่านั้น
ไปได้
— ธรรมของพระพุทธองค์ ย่อมเป็นเครื่องช่วย **

ต่อไป ธรรมในประการที่ 3 — การฝึกฝนประพฤติปฏิบัติ

และในขณะที่ลูกนั้น กำลังปฏิบัติอยู่ ย่อมเป็นธรรมดาละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..
อาจต้องเจอกับสิ่งที่เรานี้รู้สึกว่า.. มันเจอทางตันแล้ว มันเหนื่อยมันหนักแล้ว
… จึงก่อให้เกิดความท้อ

ก่อให้เกิดความท้อ เพราะเส้นทางการปฏิบัตินั้น..
เหมือนจะยาวไกล
เหมือนจะสลับซับซ้อน
เหมือนว่าลูกนั้นอาจจะไปต่อไม่ไหว ไปต่อไม่ได้ !

เมื่อเกิดสภาวะเหล่านี้ขึ้นมา — ลูกจงใช้ธรรมของพระพุทธองค์ นำทางเถิดลูก
แสงสว่างจะนำทางให้ลูก.. คลายจากความมืดมิด
หนทางที่ตันแล้ว – จะมีทางออก

ลูกนั้น.. จะสามารถฝึกฝนประพฤติปฏิบัติต่อไปได้
จนกว่าลูกนั้น.. จะถึงซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน

เพราะธรรมที่ได้วางเอาไว้ให้
คือ ธรรมที่คอยชี้บอกทางให้ลูก ตั้งแต่ต้นจนจบ
จนถึงจุดมุ่งหมาย คือ พระนิพพาน

ลูกทั้งหลาย.. มีธรรมเหล่านี้อยู่แล้ว ด้วยธรรมกึ่งพุทธกาล
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นภาษาธรรมที่ฟังเข้าใจได้ง่าย
ฟังแล้ว.. รู้เรื่องเลย เข้าใจเลย

ลูกนั้น.. จงใช้ธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมกึ่งพุทธกาล – เป็นที่พึ่ง
เป็นสิ่งที่จะช่วยนำทาง ชี้ทางบอกทาง ให้ลูกทั้งหลาย.. เดินข้ามผ่านความทุกข์ ความท้อ
ผ่านเส้นทางอันยาวไกลนี้ไปได้เถิด.. ลูกเอ๋ย

ต่อไป ธรรมในประการที่ 4 —
ในขณะที่ลูกนั้นกำลังปฏิบัติ อาจมีสภาวธรรมของความตั้งใจ มุ่งมั่นเกินไป
จนทำให้ลูกรู้สึกว่า..ตึงเครียดไปกับสิ่งต่างๆทั้งหลาย.. ที่ต้องเจอ ต้องเรียนรู้ ต้องดำเนินไป

ลูกจงพิจารณา โดยการฟังธรรมขององค์พระพุทธเจ้า
และหาทางให้ตนเองเดินต่อไปให้ได้ — ด้วยการผ่อนคลายสภาวะของความตั้งใจ
… ให้เหลือเพียงแค่ ความเป็นกลางๆ ว่างๆ ++

ลูกทั้งหลายเอ๋ย.. เพราะเส้นทางสู่ความพ้นทุกข์ ที่แท้จริง
— ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป —
ธรรม หรือว่า เส้นทางที่วางเอาไว้ให้
ไม่ลึกไป – ไม่ตื้นไป
อยู่ในความพอดี ความเป็นกลางๆเท่านั้น.. ลูกเอ๋ย

ฉะนั้น.. เมื่อประพฤติปฏิบัติฝึกฝนไป — อาจเจอกับความตึงเครียด
เพราะว่า ตั้งใจมากเกินไป

ก็จงผ่อนลงมา.. ให้เหลือความเป็นกลาง
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า แบบเป็นกลางๆ
หาความเป็นกลางให้ได้ ให้เจอ

แล้วลูกก็จะสามารถที่จะไปต่อได้
มีธรรมขององค์พระพุทธเจ้า นำทางชี้ทางให้แสงสว่างแก่ลูก ตลอดระยะการเดินทาง
จนกว่า จะถึงจุดมุ่งหมาย คือ พระนิพพาน เป็นแน่แท้

ต่อไป ธรรมในประการที่ 5 —
ให้ลูกทั้งหลายนั้น.. จงฝึกฝนเรียนรู้ว่า..
ความสำเร็จธรรมนั้น.. ย่อมมีความสำเร็จเป็นขั้นๆไป +

ค่อยๆเรียนรู้ ค่อยๆ ศึกษาปฏิบัติ ให้สำเร็จเป็นขั้นๆ
ฝึกอยู่ในกรอบแห่ง ศีล ธรรม สมาธิ และปัญญา
ดำเนินอยู่บนเส้นทางแห่ง มรรค 8

ฝึกฝนให้ลูกนั้น สำเร็จในศีล ธรรม สมาธิ ปัญญา
ด้วยการทำให้ลูกนั้น.. เป็นบุคคลผู้เป็นคนดี
จิตใจตั้งมั่น มีความสงบ
มีสติปัญญารู้แจ้ง ตามความเป็นจริงในระดับหนึ่งก่อน

แล้วลูกจึงจะเข้าสู่ระดับของการรู้จิต — จึงค่อยต่อยอดการฝึกจิตให้รู้ตื่น

เมื่อจิตรู้ตื่นแล้ว จงใช้ความรู้ตื่นแห่งจิตกลับมา
ดูให้รู้ให้เห็นตัวตนของเราเส้นทางของเรา
และฝึกฝนปฏิบัติไป ในรูปแบบเส้นทางชีวิตของตน
— ให้เห็นจิต เห็นกาย เห็นกรรม เห็นกิเลส

เห็นแล้ว ก็จงพิจารณาให้เห็นชัดยิ่งๆขึ้นไป
จนกว่าจิต กาย กรรม และกิเลส จะไม่มาชุมนุม
ไม่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเด็ดขาด
— นั่นละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..จึงจะใช้ได้ +

ฉะนั้น.. การปฏิบัติ- จงเรียนรู้ว่า มีความสำเร็จเป็นขั้นๆไป
จงอย่ารีบที่จะสำเร็จ.. เพราะจะไม่เป็นการสำเร็จที่แท้จริง
— จะได้มาด้วยการ สำเร็จแบบปลอมๆ เท่านั้น —

ฉะนั้น.. จงอย่าติดกับดัก คือ ความสำเร็จตามความเป็นจริง
คือ การรีบสำเร็จจนเกินไป จนใช้ไม่ได้ !

แล้วลูกนั้น.. จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า นำทางให้ลูกเห็นทาง
เห็นขั้นตอนของความสำเร็จ.. แล้วมุ่งสู่ความสำเร็จที่แท้จริงเถิด.. ลูกเอ๋ย

ต่อไป ธรรมในประการที่ 6 —
ลูกทั้งหลาย.. จงจำเอาไว้อย่างนี้ว่า
การประพฤติปฏิบัตินั้น.. ควรที่จะมุ่งมั่นตั้งใจ มุ่งตรงต่อพระนิพพาน
ไม่ควรแวะข้างทาง
— ด้วยการเสียเวลาไปจมอยู่ ลุ่มหลงอยู่ กับสิ่งหลอกล่อต่างๆทั้งหลาย..

จงประพฤติปฏิบัติ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ เป็นขั้นๆไป
แล้วจงมุ่งตรงต่อเส้นชัย คือพระนิพพาน เถิดลูก +

เพราะเวลาของลูกทั้งหลายนั้น.. มีเพียงแค่น้อยนิด !
โอกาส ก็มีเพียงแค่นิดหน่อย
เมื่อถึงเวลาที่เกมชีวิตของลูกนั้น.. จะต้องหมดรอบในการเล่นเกม คือจบดับไป
ดับไปจากการที่ลูกนั้น มีชีวิตอยู่ — ทุกอย่างก็จบลง

ฉะนั้น.. เวลา ก็มีได้เพียงไม่มากนัก
จงอย่ามัวแต่แวะข้างทาง
เพลิดเพลิน ลุ่มหลง หลงใหลกับสิ่งต่างๆ
จงรีบเดิน มุ่งตรงต่อพระนิพพาน
— ตามคำสอน แนวทางที่องค์พระพุทธเจ้า ได้วางเอาไว้ให้เถิด.. ลูกเอ๋ย

ต่อไป ธรรมในประการที่ 7 —
ในขณะที่ลูกทั้งหลาย.. กำลังประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น
ควรพิจารณาว่า ลูกนั้น ได้ละกิเลสให้เบาบางลงบ้างแล้ว หรือเปล่า ?
หรือกิเลสยังมากอยู่ ?

เพราะแท้ที่จริงแล้ว เป้าหมายสู่ความพ้นทุกข์นั้น คือ การลดละกิเลส
หากลูกทั้งหลาย.. ลดละกิเลสได้มากเพียงใด — ลูกก็จะใกล้นิพพานได้มากเพียงนั้น +

และจงใช้ธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า นำทาง ชี้ทางบอกทาง
เดินตามทางที่องค์พระพุทธเจ้าวางไว้ให้ – ด้วยธรรมคำสอนเถิด.. ลูกเอ๋ย

ฉะนั้นพระพุทธเจ้าน้อยเอย..การเล่มเกมชีวิต
ย่อมแน่นอนละลูก ว่าจะต้องมีสิ่งที่เป็นเครื่องช่วย สิ่งที่เป็นผู้ช่วย
— ที่จะช่วยให้ลูกเป็นผู้ชนะในเกม —
และสิ่งนั้น ก็คือ พระธรรม
คือ ธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมกึ่งพุทธกาลนี้
– ที่พระพุทธองค์ได้วางแบบวางแผนเอาไว้ให้แล้ว..
ในทุกขั้นตอน ตลอดเส้นทางไป จนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน
— สำคัญมากเลย ลูก *

บุคคลทั้งหลาย.. หากว่า ขาดปัญญา คือ การรู้แจ้ง เข้าใจตามความเป็นจริง
… ย่อมไม่อาจข้ามผ่านอุปสรรคปัญหา สิ่งทดสอบ สิ่งที่ตนเจอได้

บุคคลทั้งหลาย.. หากมีปัญญารู้แจ้ง เข้าใจตามความเป็นจริง
— ย่อมสามารถที่จะข้ามผ่านอุปสรรค ปัญหาต่างๆไปได้
— ย่อมจะมีโอกาสที่จะเข้าถึงความพ้นทุกข์ได้

ฉะนั้นลูกเอ๋ย.. ธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า ชี้ทางบอกทาง วางแนวทางเอาไว้ให้แล้ว
และนำทางลูกทั้งหลาย.. ตลอดการเดินทางมุ่งสู่พระนิพพาน+

ฉะนั้น.. ลูกจงให้ความสำคัญกับธรรมขององค์พระพุทธเจ้า เป็นอย่างมาก
ให้ก่อเกิดปัญญา
ให้รู้ทาง
ให้มีผู้นำทางลูก ไปสู่ความพ้นทุกข์เถิดนะ

ถึงแม้ว่า ปัญญาของลูกยังไม่ก่อเกิด
แต่ลูกก็สามารถใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า มาให้ลูกนั้นได้เห็นตาม รู้ตาม
แล้วค่อยประพฤติปฏิบัติตามไป
จนกว่าจะเข้าใจตาม เข้าถึงตาม

สิ่งเหล่านี้ คือ เครื่องช่วย เครื่องนำทางให้ลูกทั้งหลาย.. พ้นจากความทุกข์ ++

ฉะนั้น.. ลูกทั้งหลาย จงทำความเข้าใจว่า..
ธรรมในประการที่ 1- นั้น
เป็นธรรมดากับการรประพฤติปฏิบัติ.. ย่อมจะเจอกับอุปสรรคปัญหามากมาย
— แต่จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า นำทางเถิด —

ธรรมในประการที่ 2 –
การปฏิบัติ..ย่อมมีสิ่งที่เข้ามาหลอกล่อ ทำให้ลูกทั้งหลาย.. หลงติดกับดักเหล่านั้น
ด้วยการลุ่มหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ ในคุณวิเศษต่างๆ.. ย่อมเป็นธรรมดา
— แต่จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า – ไปสู่ความพ้นทุกข์เถิด

ย่อมเป็นธรรมดา การประพฤติปฏิบัตินั้น.. อาจเกิดความทุกข์ ความท้อได้ในระหว่างทาง
เพราะทางมุ่งสู่พระนิพพาน – ก็ยาวไกล ละเอียด และสลับซับซ้อน

แต่ลูกทั้งหลาย.. จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า
นำทางลูกไปให้ถึงปลายทางคือ พระนิพพาน เถิด
— นี่คือ ธรรมประการที่ 3

ต่อไป ธรรมประการที่ 4 –
การประพฤติปฏิบัติ ย่อมอาจมีการตึงเครียดไป ตั้งใจมากไป
— จนทำให้ลูกรู้สึกว่า เจอทางตัน!

แต่จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า นำทางลูกทั้งหลาย.. ไปให้ถึงจุดมุ่งหมายเถิด.. ลูกเอ๋ย
จงหาความเป็นกลางให้เจอ วางจิตให้ว่าง
หาเส้นทางขององค์พระพุทธเจ้า..ด้วยการไม่ตึงไป – ไม่หย่อนไป
เพราะทางสู่ความพ้นทุกข์ อยู่ที่.. ไม่ตื้นมาก – ไม่ลึกมาก
อยู่พอดี +

เช่นนี้ละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า ย่อมจะนำทางลูกทั้งหลาย..
เข้าสู่ความพ้นทุกข์ได้

ต่อไปธรรมในประการที่ 5 –
ลูกนั้น จงเรียนรู้ขั้นตอนของความสำเร็จ เป็นขั้นๆไป
แล้วจงฝึกฝนให้สำเร็จเป็นขั้นๆไป

จงอย่าเร่งรีบที่จะสำเร็จ เพราะอาจจะไม่สำเร็จจริง
จงใช้ธรรมขององค์พระพุทธเจ้า ชี้ทางบอกทาง นำทางลูกเถิด

ธรรมในประการที่ 6 –
จงอย่าเสียเวลาแวะข้างทาง ด้วยสิ่งหลอกล่อต่างๆ
จงตั้งใจมุ่งตรงต่อพระนิพพานเถิด
เพราะธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า..ย่อม
* สว่างไสวตั้งแต่เริ่มต้น
* สว่างไสว อยู่ท่ามกลางระหว่างเดินทาง
* และย่อมสว่างไสว ไปจนกว่าจะสิ้นสุดปลายทาง คือ ถึงซึ่งพระนิพพาน

จงรีบเดิน รีบปฏิบัติไปเถิดอย่ามัวแต่รอเลย..
— เพราะเวลาของลูก เหลือน้อยลงขึ้นเรื่อยๆแล้ว..ลูกทั้งหลายเอ๋ย

ต่อไป ธรรมในประการที่ 7 –
การประพฤติปฏิบัติ ควรเป็นไปเพื่อการละกิเลส ตลอดเส้นทางของการปฏิบัติ
ควรพิจารณาว่า.. กิเลสลดน้อยลงบ้างหรือเปล่า ?

ใช้ธรรมของพระพุทธเจ้า ช่วยขัดเกลา ช่วยนำทางชี้ทาง
— ทำให้ลูกนั้นหมดกิเลส
— ทำให้ลูกนั้นถึงความพ้นทุกข์เถิด
** พระธรรมของพระพุทธองค์ จึงสำคัญยิ่งนัก กับการเล่นเกมชีวิตนี้.. ลูกเอ๋ย

เพราะบุคคลผู้ยังไม่ได้ฝึกฝน — ย่อมไม่เห็นหนทาง
บุคคลผู้ฝึกฝนถึงระดับใดแล้ว — ย่อมเห็นหนทางแค่ในระดับนั้น..

การที่เราอาศัยธรรมของพระพุทธเจ้า – ผู้เห็นหนทาง และถึงซึ่งนิพพานแล้วนั้น..
ย่อมเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
— ที่จะช่วยให้เรานี้ ข้ามผ่านอุปสรรคปัญหาต่างๆ ทั้งหลาย..

ฉะนั้น.. ธรรมกึ่งพุทธกาล – จึงสำคัญมาก *
ในกึ่งพุทธกาล.. จึงต้องมีความพ้นทุกข์
คือ 4 ย่างก้าว – ด้วยศีล ธรรม สมาธิ และปัญญา

เพราะธรรมทั้งหลาย.. เป็นหนทางที่องค์พระพุทธเจ้าถากถาง วางไว้ให้แล้ว
ธรรมทั้งหลาย.. คือ แผนที่บอกทาง ที่องค์พระพุทธเจ้าวางไว้ให้แล้ว
ธรรมทั้งหลาย.. ย่อมส่องทางให้ลูกนั้น เดินได้อย่างสะดวกสบาย
ธรรมทั้งหลาย.. ย่อมจะเป็นผู้นำทางลูก ไม่พาให้ลูกหลงทาง
— ย่อมทำให้ลูก มุ่งตรงต่อพระนิพพาน **

นี่ละ พระพุทธเจ้าน้อย..เครื่องช่วยในการเล่นเกมชีวิต
คือ ธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พอจะเข้าใจบ้างแล้วหรือยังเล่า จงกล่าวธรรมเหล่านั้นมาเถิด.. ลูกเอ๋ย

+ +
พระพุทธเจ้าน้อย :: สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าค่ะ

ลูก เมื่อได้สดับฟังธรรมนี้แล้ว พอจะเข้าใจแล้วว่า..
ขณะที่เราประพฤติปฏิบัตินั้น.. เราอาจเจออุปสรรคปัญหามากมาย

แต่เราก็จะมีธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า..
* เป็นสิ่งที่ช่วยนำทาง ชี้ทางบอกทาง
* เป็นแสงสว่างให้แก่เรา

การที่เราปฏิบัติ.. อาจมีสิ่งหลอกล่อต่างๆ ที่ทำให้เราลุ่มหลงไป ติดกับดักอยู่
— แต่ก็จงใช้ธรรมของพระพุทธองค์นำทาง

การที่เราปฏิบัติ.. อาจเกิดความทุกข์ ความท้อได้บ้าง ในเส้นทางอันยาวไกลของการปฏิบัตินี้
แต่จงหาทางของพระพุทธองค์ให้เจอ — ด้วยการวางจิตให้เป็นกลาง
และจงหาทางให้เจอ — ด้วยการใช้ธรรมของพระพุทธองค์นำทาง

การปฏิบัติ อาจเกิดการตึงเครียด.. เพราะเราตั้งใจมากเกินไป !
เราก็จงหาความเป็นกลางให้เจอ
หาธรรมขององค์พระพุทธเจ้าให้เจอ
ว่า.. อยู่บนทางสายกลาง

แล้วใช้ทางของพระพุทธองค์ นำทางให้เราข้ามพ้นความตึงเครียด ความตั้งใจเกินไปนี้
ไปให้ได้ ++

การปฏิบัติ – เราควรที่จะเรียนรู้ว่า ความสำเร็จ มีเป็นขั้นๆไป
และจงปฏิบัติให้เข้าถึงการปฏิบัติ อย่างแท้จริง

จงอย่าเร่งรีบที่จะสำเร็จ เช่น ทำนิดๆหน่อยๆ ก็บอกว่า สำเร็จแล้ว
— เราจะได้สำเร็จจริงๆ —
ให้ทำตามความสำเร็จของพระพุทธองค์ไป จนกว่าจะสิ้นสุดปลายทาง

และจงอย่าเสียเวลากับการแวะข้างทาง
จงมุ่งตรงต่อพระนิพพาน ตามเส้นทาง และคำสอนของพระพุทธองค์
เพราะว่า เรามีเวลาอยู่เพียงน้อยนิด

การปฏิบัติ – ควรเป็นไปเพื่อการละกิเลส

ขณะที่เราปฏิบัติอยู่ ควรสังเกตกิเลสของตน ว่า เบาบางลงหรือเปล่า
และควรน้อมธรรมของพระพุทธองค์มาฝึกฝนประพฤติปฏิบัติ
— เพื่อชำระกิเลสเหล่านั้น..
จะได้ไม่ติดอยู่กับกิเลสตัณหา

มีธรรมของพระพุทธองค์.. เป็นเครื่องช่วยชี้ทางบอกทาง
ธรรมของพระพุทธองค์
— เปรียบเสมือนแผนที่การบอกทาง
— เปรียบเสมือนหนทางที่พระองค์ทรงทำเอาไว้ดีแล้ว
เรามีเพียงหน้าที่เดินตาม

เปรียบเสมือนแสงสว่าง..ที่ให้แสงสว่างตลอดการเดินทาง
– ไม่มีความมืดมิด –

และพระองค์ก็ทรงทำให้ หนทางเส้นนี้ – มุ่งตรงต่อพระนิพพาน
คือ มีจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ พระนิพพาน
เป้าหมายที่สิ้นสุด ก็คือ สิ้นสุดที่พระนิพพาน

… ลูกพอจะเข้าใจ เช่นนี้ อย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระพุทธองค์นะเจ้าคะ

เมื่อลูกเจออุปสรรคปัญหา — ลูกจะใช้ธรรมของพระองค์ เป็นสิ่งนำทาง
เมื่อลูกนั้น.. จะหลงทาง ผิดพลาด พลาดพลั้งคราวใด
เจอกับทางตัน
เจอกับอุปสรรคอย่างไรก็ตาม
… จะใช้ธรรมของพระพุทธองค์นำทาง อยู่บนเส้นทางแห่งการปฏิบัติของลูก
จะมีศีล มีธรรม มีสมาธิ และปัญญา
พาให้ลูกถึงซึ่งความพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าค่ะ

พระพุทธองค์ :: ดีแล้วละ พระพุทธเจ้าน้อยเอย..
พระธรรมขององค์พระพุทธเจ้านั้น..เป็นสิ่งที่สำคัญมาก *

ลูกทั้งหลาย.. จงเรียนรู้ ทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
แล้วลูกทั้งหลาย.. จะมีเครื่องช่วย มีสิ่งช่วยลูกได้มากมาย
ลูกจะไม่มีทางแพ้ในเกมเลย !
ลูกจะเป็นผู้ชนะในเกมได้ อย่างแท้จริง

+ +
พระพุทธเจ้าน้อย :: สาธุ พระพุทธเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระพุทธองค์ นะเจ้าคะ
วันนี้ ลูกต้องกราบขอลาก่อน เอาไว้ลูกจะมาเฝ้าฟังธรรมใหม่ พระพุทธเจ้าค่ะ…

สาธุ